เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วยภูมิปัญญา
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและ เห็นคุณค่าของการนำภูมิปัญญาดังเดิมมาพัฒนาต่อพร้อมทั้งปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล

week12–13


เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและอธิบายภูมิปัญญาเกี่ยวกับการประดิษฐกรรม (งานจักสาน งานปั้น งานวาด งานสร้างสิ่งก่อสร้าง) ที่มีความเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นและตนเองได้
Week
input
Process
Output
Outcome




12 – 13

      4 - 15
  ส.ค. 2557
โจทย์
ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการประดิษฐกรรม (งานจักสาน งานปั้น งานวาด งานสร้างสิ่งก่อสร้าง)
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่า งานจักสานเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกับพวกเราและคนอื่นๆย่างไร
- นักเรียนคิดว่า เราสามารถนำงานจักสานเดิมที่มีอยู่ ไปพัฒนาต่อและใช้ประโยชน์จริงได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามและสิ่งที่ได้ดู ได้ฟัง อาทิเช่น คลิป VDO เครื่องจักรสานไทย Siam”  
งานสานประเภท งาไซดักปลา กระบุง กระด้ง ฯลฯ
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำงานจักสานเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบันไปพัฒนาต่อและใช้ประโยชน์ได้จริง
 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป VDO เครื่องจักรสานไทย Siam”
- เรื่องเล่าปลาตะเพียน
- ตอก สำหรับสาน
- คุณตาพี่โอม (ผู้เชี่ยวชาญด้านงานสาน)
จันทร์
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์
ที่แล้ว
ชง : ครูเปิดคลิป VDO เครื่องจักรสานไทย Siam” ซึ่งเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนอีสานที่มีต่องานจักสาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ได้ดู?”
พุธ
เชื่อม : ครูนำปลาตะเพียนสานมาให้นักเรียนดู พร้อมเล่าความเป็นมาของปลาตะเพียนสานให้นักเรียนฟัง
- ครูแจกทางมะพร้าวให้กับนักเรียนแต่ละคน และให้นักเรียนแต่ละคนออกแบบงานสานที่ตนเองรู้จัก คนละ 1 ชิ้น ตามความสนใจ
- นักเรียนแต่ละคนร่วมกันเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างงานสานของแต่ละคนกับตัวเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมฟัง
พฤหัสบดี-ศุกร์
เชื่อม : ครูนำงานจักสานประเภท งาไซดักปลา กระบุง กระด้ง ฯลฯ ให้นักเรียนได้ร่วมสังเกต
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียนคิดว่า งานจักสานเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกับพวกเราและคนอื่นๆย่างไร?”
จันทร์
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมเสนอความคิดเห็น
ชง : ครูเชิญวิทยากร คุณตาพี่โอม มาเล่าเกี่ยวกับงานจักรสาน
-  ฟังเรื่องเล่าความเป็นมาจากคุณตาพี่โอม เกี่ยวกับงานจักรสาน
พร้อมร่วมทำกิจกรรม สานกระด้ง จากตอก โดยคุณตาพี่โอมเป็นผู้สอนให้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคุณตาพี่โอมลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
พุธ-พฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า เราสามารถนำงานจักสานเดิมที่มีอยู่ ไปพัฒนาต่อและใช้ประโยชน์จริงได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนสืบค้นข้อมูล เตรียมอุปกรณ์และออกแบบโมเดล งานจักสานที่สนใจ และใช้ประโยชน์ได้จริง คนละ 1 2  ชิ้น ตามความต้องการ
 - นักเรียนแต่ละคนลงมือสร้าง งานจักสาน ตามรูปแบบโมเดลที่ออกแบบไว้
ศุกร์
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอชิ้นงาน.ในรูปแบบชาร์ตหรือตามที่สนใจ
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
ออกแบบงานสานที่ตนเองรู้จัก คนละ 1 ชิ้น ตามความสนใจ
- ร่วมกันเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างงานสานของแต่ละคนกับตัวเอง
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคุณตาพี่โอมลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สืบค้นข้อมูล เตรียมอุปกรณ์และออกแบบโมเดล งานจักสานที่สนใจ และใช้ประโยชน์ได้จริง
- สร้าง งานจักสาน ตามรูปแบบโมเดลที่ออกแบบไว้
- นำเสนอชิ้นงาน

ชิ้นงาน
- โมเดลงานสาน
- งานสาน ตามความสนใจ
- ชาร์ตนำเสนอชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการประดิษฐกรรม (งานจักสาน) ที่มีความเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นและตนเอง

ทักษะ
ทักษะการจัดการข้อมูล
- การวางแผนในการจัดเรียงข้อมูลที่น่าสนใจ วิเคราะห์ข้อมูลที่สืบค้น และการพัฒนางานสานในรูปแบบใหม่
ทักษะการICT
 การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับงานจักสานดังเดิม
ทักษะชีวิต
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องภูมิปัญญาด้านการประดิษฐกรรม ที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบงานสานในรูปแบบใหม่ สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง
คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้


 ตัวอย่างชิ้นงาน


 
               

ตัวอย่างสรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์ 

   

























1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสองสัปดาห์นี้พี่ๆม.3ได้เรียนรู้เกี่ยวภูมิปัญญาด้านงานจักรสาน โดยในช่วงปิด quarter 1 ที่ผ่านมาคุณครูได้ได้ให้พี่ๆแต่ละคน ทดลองสานสิ่งของมาคนละ 1ชนิด พร้อมได้นำมาพูดคุยกันในช่วงชั่วโมงแรกของการเรียน โดยชิ้นงานส่วนใหญ่ เป็นพัดสาน ปลาตะเพียนสาน ตะกร้อสาน โดยทำมาจากตอกไม้ไผ่ ใบตอง และใบตาล หลังจากนั้นคุณครูได้ให้พี่ๆแต่ละคนเตรียมตอกมาเพื่อมาร่วมเรียนรู้กับคุณตาพี่โอม ซึ่งพี่ๆม.3 ก็ได้ฟังเรื่องราวการสานและเรื่องราวการทำวัสดุข้าวของเครื่องใช้ของคนสมัยก่อนจากคุณตาพี่โอม พร้อมทั้งแนะนำวิธีการสาน เครื่องจักรสานที่ มีลวดลายต่างกัน อาทิเช่น ลาย1 ลาย2 ลาย 3 โดยมีเทคนิคการทำแตกต่างกันออกไปๆ ช่วงแรกๆ พี่ฟิล์ม พี่แนน พี่หมวย ยังไม่เข้าใจและมองไม่ออกในวิธีการสาน พี่โอ๊ต. พี่กั๊ก และพี่บีม (อ) ก็ได้ช่วยแนะนำวิธีการสาน โดยแต่ละคน มีวิธีสังเกตที่แตกต่างกัน พี่กั๊กบอกว่า "ผมจำเอาครับครู พยายามมองpattern ที่มี ซึ่งจะซ้ำๆกันครับ" ส่วนพี่โอ๊ตบอกว่า "ผมสังเกตจากลายที่เหมือนกันกับอันที่เราสานผ่านมาแล้วครับมันจะมี 1 กับ 2
    หลังจากนั้นคุณครูก็ได้ให้พี่ๆแต่ละคน ออกแบบงานสาน คนละ 1 ชิ้น โดยใช้ความรู้ที่ได้จากที่คุณตาพี่โอมและที่เพื่อนๆสอน นำไปใช้สร้างชิ้นงาน ซึ่งชิ้นงานที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกระด้ง กระชอน ไม้ตีแมลงวัน และถาดรองแก้วน้ำ จากนั้นเราก็ได้นำเสนอชิ้นงานของแต่ละคน และพูดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้และปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเทคนิควิธีการของแต่ละคนในการสร้างชิ้นงาน อาทิเช่น พี่แนน: หนูสานแบบลาย ยั๊กคิ้วค่ะ. (ยกงานขึ้นให้เพื่อดู ถ้าสมมุติว่าเราสานผิดตั้งแต่แรกก็จะผิดทั้งหมดค่ะ)
    พี่กัน: เวลาเราจะทำขอบให้กระชอน เราจะต้องขุนหลุมก่อนคะ แล้วเอางานที่เราสานใส่ลงไปแล้วค่อยเย็บไม่งั้นมันจะไม่โค้งแล้วก็เย็บยากตอกก็ฮักด้วยค่ะ

    ตอบลบ