เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วยภูมิปัญญา
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและ เห็นคุณค่าของการนำภูมิปัญญาดังเดิมมาพัฒนาต่อพร้อมทั้งปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล

week16-17



เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายความเชื่อของคนโบราณในสมัยก่อนที่มีผลต่อการดำรงชีวิตและการให้เหตุผลต่อความเชื่อที่เป็นเพียงกุศโลบาย

Week
input
Process
Output
Outcome




16 - 17

     
     1 – 12
ก.ย. 2557
โจทย์

- ความเชื่อของคนโบราณ


Key  Question
นักเรียนคิดว่าความเชื่อที่เกิดขึ้นของคนโบราณ มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อของคนโบราณในสมัยก่อนที่มีผลต่อการดำรงชีวิตและเหตุผลต่อความเชื่อที่เป็นเพียงกุศโลบาย
Brainstorm
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับ การวางแผนในการออกแบบกิจกรรม เพื่อลงพื้นที่สำรวจ เก็บข้อมูล และสัมภาษณ์ประเด็น ความเชื่อ และเหตุผลของคนในหมู่บ้านเพื่อศึกษา แนวคิด ที่มาและมุมมองของการกำเนิดความเชื่อ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- เล่าเรื่อง ความเชื่อของคนโบราณและข้อห้าม
- เล่าเรื่อง “ 60 ความเชื่อ คนโบราณ
- ปราชญ์ชาวบ้าน 
(คุณตาพี่ ฟลุ๊ค ม.2)
- หมู่บ้านของนักเรียน
- กล้องถ่ายภาพและวีดีโอ
จันทร์
ชง : ครูเล่าเรื่อง ความเชื่อของคนโบราณและข้อห้ามให้นักเรียนฟัง ซึ่งเกี่ยวกับ ความเชื่อของคนในสมัยก่อน เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ
- ครูใช้คำถามกระต้นการคิด นักเรียนเคยได้ยินเรื่องราว หรือความเชื่อใดบ้าง ที่ญาติผู้ใหญ่ของตนเอง เชื่อและเคารพนับถือ
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแชร์ประสบการณ์ของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง
พุธ
- ครูเล่าเรื่อง “ 60 ความเชื่อ คนโบราณ ให้นักเรียนฟัง พร้อมร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆที่เกิดขึ้น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าความเชื่อที่เกิดขึ้นของคนโบราณ มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนและคุณครูร่วมฟัง เรื่องราวความเชื่อของคนโบราณที่ มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตจากคุณตาพี่ ฟลุ๊ค ม.2
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยถึงประเด็นที่เกิดขึ้นจาการฟังเรื่องเล่า อาทิเช่น เหตุผลของความเชื่อ หรือ ความจริงที่เกิดขึ้นกับความเชื่อนั้น
พฤหัสบดี-ศุกร์
เชื่อม : นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มๆละเท่าๆกัน  เพื่อร่วมทำกิจกรรม ที่มาของความเชื่อ
- นักเรียนแต่ละกลุ่ม ออกแบบตารางสำรวจ สำหรับเก็บข้อมูล และสัมภาษณ์ประเด็น ความเชื่อ และเหตุผลของคนในหมู่บ้านเพื่อศึกษา แนวคิด ที่มาและมุมมองของการกำเนิดความเชื่อ ต่างๆ
- นักเรียนแต่ละกลุ่ม ลงพื้นที่ทำกิจกรรม ที่มาของความเชื่อ (ใช้เวลาช่วงหลังเลิกเรียน)
จันทร์-พฤหัสบดี
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปกิจกรรมที่มาของความเชื่อ  จากการลงพื้นที่ พร้อมนำเสนอในรูปแบบที่แต่ละกลุ่มสนใจ อาทิเช่น คลิปวีดีโอ ชาร์ต Power point  
- ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม ที่มาของความเชื่อ 
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ศุกร์
ใช้ :  นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเชื่ออย่างมีเหตุผล ในรูปแบบ การ์ตูนช่อง
ภาระงาน

 - ออกแบบตารางสำรวจ สำหรับเก็บข้อมูล และสัมภาษณ์ประเด็น ความเชื่อ และเหตุผลของคนในหมู่บ้านเพื่อศึกษา แนวคิด ที่มาและมุมมองของการกำเนิดความเชื่อ

- กลุ่มสรุปกิจกรรมที่มาของความเชื่อ  จากการลงพื้นที่ พร้อมนำเสนอในรูปแบบที่แต่ละกลุ่มสนใจ อาทิเช่น คลิปวีดีโอ ชาร์ต Power point  ฯลฯ
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเชื่ออย่างมีเหตุผล ในรูปแบบ การ์ตูนช่อง


ชิ้นงาน

- คลิปวีดีโอ ชาร์ต Power point  ฯลฯ นำเสนอ กิจกรรมที่มาของความเชื่อ 
- การ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
- ความเชื่อของคนโบราณในสมัยก่อนที่มีผลต่อการดำรงชีวิต
- การให้เหตุผลต่อความเชื่อที่เป็นเพียงกุศโลบาย

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการออกแบบกิจกรรม เพื่อลงพื้นที่สำรวจ เก็บข้อมูล และสัมภาษณ์ประเด็น ความเชื่อ และเหตุผลของคนในหมู่บ้านเพื่อศึกษา แนวคิด ที่มาและมุมมองของการกำเนิดความเชื่อ
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองเกี่ยวกับ ความเชื่อของคนโบราณในสมัยก่อนที่มีผลต่อการดำรงชีวิตและการให้เหตุผลต่อความเชื่อที่เป็นเพียงกุศโลบาย
ทักษะการICT
สรุปและนำเสนอชิ้นงาน อาทิเช่น คลิปวีดีโอ ชาร์ต Power point  ฯลฯ
ทักษะการจัดการข้อมูล
วิเคราะห์เหตุผลและปัจจัยการดำรงชีวิตของคนสมัยก่อน ที่ส่งผลให้เกิดความแนวคิดและเชื่อต่างๆ
ทักษะการรอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละกลุ่มมีการทำงานร่วมกันในกิจกรรมการลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล และแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน

คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบกิจกรรมเพื่อใช้สำหรับการลงพื้นที่ ที่จะต้องเก็บข้อมูลต่างๆ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ จากการลงพื้นที่ในรูปแบบที่ตนเองสนใจ อาทิเช่น คลิปวีดีโอ ชาร์ต Power pointฯลฯ
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

 ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้


                           

                                                                          
                                                                              ตัวอย่างชิ้นงาน
- Story board




 
- คลิปรายกาย "ภูมิปัญญาด้านควาทเชื่อ" 
(พี่ๆ ม.3 แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม และร่วมกันถ่ายทำรายการ)
  










ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    สัปดาห์นี้พี่ๆ ม.3 และคุณครูได้ร่วมกันเรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อของคนสมัยโบราณ โดยคุณครูได้เริ่มต้นกิจกรรมโดยการเล่า 60 ความเชื่อของคนในสมัยก่อนให้พี่ๆได้ฟังหลังจากนั้น พี่ๆและคุณครูได้ร่วมกันแชร์ประสบการณ์และความเชื่อของตนเองพร้อมทั้งฟังเรื่องเล่า ความเชื่อจากคุณตาพี่ฟลุ๊ค ม.2 โดยคุณตาได้เล่าให้พวกเราฟังเกี่ยวกับ ภูมิปัญญาทางความเชื่อของคนในสมัยโบราณหลากหลายเรื่องราว อาทิเช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการเล่นของ การทำเสน่ห์ ข้อห้ามต่างๆสำหรับหญิงสาว เช่น การเคาะจานเสียงดัง การงดเข้าวัดในวันมีประจำเดือน การงดนั่งกีดขวางทางเข้าประตู และประสบการณ์ตรงด้านความเชื่อของคุณตา หลังจากนั้น พี่ๆ ม.3 ได้จับฉลากแบ่งกลุ่มออก เป็น 4 กลุ่ม โยแบ่งหน้าที่ ออกเป็น 4 หน้าที่ ดังนี้คือ ผู้ออกแบบ Story board ผู้ตัดต่อ
    ตากล้อง และพิธีกร จากนั้นพี่ๆแต่ละกลุ่มก็ได้ร่วมกันวางแผนการทำงานและลงพื้นที่สำรวจพร้อมทั้งสัมภาษณ์ บุคคลที่แต่ละกลุ่มสนใจ โยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งมีความเชื่อด้านต่างๆ หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการตัดต่อเพื่อสร้าง เป็นรายการ พร้อมทั้งแต่ละกลุ่มได้นำเสนอรายการของตนเอง และปิดท้ายกิจกรรมด้วยการสรุปสัปดาห์ นอกเหนือจากนี้ ในสัปดาห์นี้ พี่ๆ ม.3 และคุณครูได้มีโอกาสได้ไปดูงานที่โรงพยาบาลขอนแก่นและศูนย์ศิลปะที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยในส่วนของศูนย์ศิลปะในช่วงนี้เป็นการจัดแสดงผลงาน ด้านงานวาดของ นักเรียนนักศึกษา ในจังหวัดขอนแก่น และในส่วนคณะแพทย์ โดยพี่ๆและคุณครูได้เข้าไปร่วมฟังคำอธิบายพร้อมสังเกตร่างอาจารย์ใหญ่ (ผู้บริจาคร่างกายหลังจากเสียชีวิตแล้ว เพื่อใช้สำหรับศึกษา) ซึ่งได้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบต่างๆ ของร่างกาย หลังจากกระบวนการเรียนรู้ในการทัศนะศึกษาแล้ว คุณครูได้ให้พี่ๆแต่ละกลุ่มร่วมกันถอดบทเรียนเรื่องที่ได้เรียนรู้และพกคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้จาการรเดินทางในครั้งนี้

    ตอบลบ