เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วยภูมิปัญญา
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและ เห็นคุณค่าของการนำภูมิปัญญาดังเดิมมาพัฒนาต่อพร้อมทั้งปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล

week14-15


เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายที่มาและความสำคัญของคนอีสานที่ใช้ภูมิปัญญาของตนเองในการสร้างสรรค์อาหารหรือขนมในเมนูต่างๆได้
Week
input
Process
Output
Outcome




14 – 15

     
     18 - 29
ส.ค. 2557
โจทย์
- ข้าวโป่ง
- อาหารอีสาน

Key  Questions
- นักเรียนคิดว่า จากสารคดีที่ได้ดูนั้น มีความสัมพันธ์กับชีวิตของเราอย่างไร
- นักเรียนคิดว่ากระบวนการทำ ข้าวโป่งของคนในสมัยก่อนมีขั้นตอนและเทคนิคการทำอย่างไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำข้าวโป่ง และการทำอาหารอีสาน
Brainstorm
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับ เทคนิคการทำข้าวโป่ง ที่หลากหลาย และการปรับใช้วิธรการทำต่างของคนอีสานในสมัยก่อน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- สารคดี ข้าวปลาอาหาร ตอน เกษตรครบวงจร
- ข้าวโป่ง
- คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
- บทความ เรือนธาตุ
- เรื่องเล่า ประวัติข้าวโป่ง
- เกมจับคู่บัตรคำ วัตถุดิบกับอาหาร
- อุปกรณ์สำหรับทำข้าวโป่งและอาหารอีสาน
จันทร์
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์
ที่แล้ว
ชง : ครูเปิดสารคดี ข้าวปลาอาหาร ตอน เกษตรครบวงจร ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้รู้ที่มาของอาหารตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น และเป็นวิถีของชาวนา ชาวไร่
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า จากสารคดีที่ได้ดูนั้น มีความสัมพันธ์กับชีวิตของเราอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
พุธ-พฤหัสบดี
ชง : ครูให้นักเรียนแต่ละคนชิม ข้าวโป่ง  ซึ่งเป็นขนมของชาวอีสานที่มีความเป็นมาที่น่าสนใจ
เชื่อม : ครูอ่านบทความ เรือนธาตุ ให้นักเรียนฟัง ตลอดช่วงเวลาของการชิมข้าวโป่ง
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มๆละ เท่าๆกัน
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่ากระบวนการทำ ข้าวโป่งของคนในสมัยก่อนมีขั้นตอนและเทคนิคการทำอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทำ ข้าวโป่งของคนในสมัยก่อน พร้อมเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำข้าวโป่ง
ศุกร์
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำขนม ข้าวโป่ง ตามเทคนิควิธีที่ได้ศึกษามา
จันทร์
ชง : ครูและนักเรียนร่วมเล่นเกมจับคู่บัตรคำ วัตถุดิบกับอาหาร ซึ่งเป็นเกม เกี่ยวกับ ความเกี่ยวข้องของวัตถุดิบต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นอาหารอีสาน หรือขนมไทย ในแต่ละเมนู
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับ เมนูอาหารที่เกิดขึ้น จากการเล่นเกมที่ผ่านมา
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม เลือกเมนูอาหารที่ได้จากเล่นเกม กลุ่มละ 1 เมนู เพื่อใช้ในการเรียนรู้ เกี่ยวกับภูมิปัญญาของคนอีสานกับการทำอาหาร อาทิเช่น ลาบหมาน้อย  ลาบปู  ฯลฯ
พุธ-พฤหัสบดี
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับ ที่มาและขั้นตอนกระบวนการทำอาหารของกลุ่มตนเอง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำอาหาร ตามเทคนิควิธีที่ได้ศึกษามา
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ อาหารที่ปรุงเรียบร้อยแล้ว ประกอบกับที่มาและเรื่องราวของอาหารอีสานที่กลุ่มตนเองศึกษา
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ศุกร์
ใช้ : ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านอาหารของคนภาคอีสาน ในรูปแบบ ชาร์ตรูปภาพ
ภาระงาน
 - สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทำ ข้าวโป่งของคนในสมัยก่อน พร้อมเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำข้าวโป่ง
- ร่วมเล่นเกมจับคู่บัตรคำ วัตถุดิบกับอาหาร
- สืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับ ที่มาและขั้นตอนกระบวนการทำอาหาร
- นำเสนอ อาหารที่ปรุงเรียบร้อยแล้ว ประกอบกับที่มาและเรื่องราวของอาหารอีสาน
- ร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านอาหารของคนภาคอีสาน ในรูปแบบ ชาร์ตรูปภาพ

ชิ้นงาน
- ชาร์ตภาพสรุปภูมิปัญญาด้านอาหารของคนภาคอีสาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- ที่มาและกระบวนการทำข้าวโป่ง (ขนมของคนอีสาน)
- เรื่องราวและกระบวนการทำอาหารอีสาน  ที่ใช้ภูมิปัญญาดั่งเดิมของคนในสมัยก่อน
ทักษะ
ทักษะการจัดการข้อมูล
การวางแผนในการสืบค้นข้อมูลและการเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำข้าวโป่งและอาหาร
อีสานเมนูต่างๆ
ทักษะการICT
 การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทำ ข้าวโป่งของคนในสมัยก่อนและอาหารอีสานเมนูต่างๆของคนอีสานดังเดิม
ทักษะชีวิต
 - สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองเกี่ยวกับการ
 - วิเคราะห์ขั้นตอนของการทำข้าวโป่งที่เกิดจากเทคนิคต่างๆของคนอีสานดั่งเดิม เช่นการใช้ เครือตดหมา มาช่วยให้เนื้อข้าวเหนียวผสมกันได้ดียิ่งขึ้น
ทักษะกาคิดสร้างสรรค์
สร้างสรรค์เมนูอาหารหรือขนมต่างๆ จากภูมิปัญญาดั่งเดิมได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคนได้ร่วมกันทำข้าวโป่งและอาหารอีสาน

คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์ในนำภูมิปัญญาเดิมของคนอีสานในสมัยก่อนมาปรับใช้ และถ่ายทอดเรื่องราวผ่านกระบวนการทำจริง และเขียนสรุปในรูปแบบ ชาร์ตภาพได้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น





ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
- เดินป่าโคกหีบ สำรวจสมุนไพร เก็บเห็น และเครือตดหมา สำหรับนำมาป่าข้าวโป่ง  โดยมีคุณพ่อพี่โอม และคุณพ่อพี่บีม อ. มาร่วมเดินป่า




- พี่ๆม.3 เริ่มกระบวนการทำข้าวโป่งค่ะ



- ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ 



อาหารอีสาน







1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    สัปดาห์นี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างอาหารจากวัตถุดิบธรรมชาติโดยใช้ภูมิปัญญาดั่งเดิมของคนในสมัยโบราณ คุณครูและพี่ๆจึงได้เลือกที่จะศึกษาการทำ “ข้าวโป่ง” เริ่มต้นกิจกรรมการเรียนรู้โดย จับฉลากแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม จากนั้นแต่ละกลุ่มได้ร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับที่มา และกระบวนการทำข้าวโป่ง หลังจากนั้นมนวันรุ่งขึ้นพวกเราก็เดินสำรวจป่าโคกหีบโยมีคุณพ่อพี่โอม และคุณพ่อพี่บีม (อ) มาร่วมนำเดินป่า เพื่อค้นหา เครือตดหมา ซึ่งเป็น วัตถุดิบหนึ่งในการทำข้าวโป่ง ของคนในสมัยโบราณ เนื่องจากน้ำเครือตดหมา จะช่วยให้ข้าวเหนียวและส่วนผสมอื่นๆผสมเข้ากันอย่างลงตัว เป็นเนื้อเดียวกัน นอกเหนือจากเครือตดหมาแล้ว พวกเราก็ได้เก็บเห็ดที่เกิดขึ้นอยู่ในป่าอีกด้วย หลังจากได้วัตถุดิบเรียบร้อยแล้ว แต่ละกลุ่มก็ได้ ร่วมพูดคุยกันเพื่อแบ่งหน้าที่และเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำข้าวโป่ง ในช่วงเวลาการเรียนรู้ต่อมา พี่ๆแต่ละกลุ่มก็ได้ลงมือทำข้าวโป่ง โดยพี่บีม (ชุ) เป็นผู้แนะนำในการทำกิจกรรมนี้ หลังจากกิจกรรมทำข้าวโป่งเรียบร้อยแล้ว พี่ๆและคุณครูได้ร่วมกันแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้ ซึ่งแต่ละคนมีความคิดเห็นและความประทับใจแตกต่างกันออกไป อาทิเช่น พี่ฟ้า(วรรณ) “หนูประทับใจเพื่อนๆช่วงที่สำรวจป่าค่ะ เพราะว่าแค่เราเดินหายไปเงียบๆสักพัก เขาก็จะเรียกหากัน ” พี่บีม (อ) “หนูประทับใจพี่ผู้ชายค่ะ เพราะว่า เขาเสียสละที่จะไปหุงข้าวเหนียวเตรียมของแล้วก็ให้พี่ผู้หญิงมาทำสรุปสัปดาห์ก่อน” พี่บีม (ชุ) “ความยากของการทำข้าวโป่งในครั้งนี้ อยู่ที่การตำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกค่ะ เพราะจริงๆแล้วเราต้องใช้ครกมอญ ตำ เลยทำให้ครกหินเราแตกไป 1 ใบ แต่พี่ๆผู้ชายก็ช่วยตำจนเสร็จค่ะ” พี่กัน “หนูประทับใจพี่ฟ้าวรรณ ที่เขาไม่โกรธ(จัดการอารมณ์ตัวเองได้) ตอนรู้ว่าครกหินของตัวเองที่ยืมแม่มา แตกเพราะพี่เฟิร์นตำ ค่ะ” หลังจากนั้นคุณครูก็ได้ให้พี่ๆแต่ละคนสรุปขั้นตอนกระบวนการและสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกชีวิตค่ะ

    ตอบลบ